กลับหน้าหลัก
 บทเรียนที่ 1
 ใบความรู้ที่ 1.1 รู้จักกับโปรแกรม Macromedia Flash
 
 ใบความรู้ที่ 1.2 การสร้าง การบันทึกและการเปิดไฟล์งาน
การเข้าสู่โปรแกรม
     -  การสร้างไฟล์งาน
     -  การบันทึกไฟล์งาน
     -  การเปิดไฟล์งาน
 
 ใบความรู้ที่ 1.3 ส่วนประกอบของโปรแกรม Macromedia Flash
 ส่วนประกอบของโปรแกรม
 ทูลบ็อกซ์ (Toolbox)
 
 ใบงาน
 ใบงานที่ 1.2
 ใบงานที่ 1.3


ใบความรู้ที่ 1.3 ส่วนประกอบของโปรแกรม Macromedia Flash

          โปรแกรม Macromedia Flash มีส่วนประกอบต่าง ๆ คล้ายคลึงกับโปรแกรมกราฟิกทั่ว ๆ ไป โดยจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนของ แถบเมนู แถบเครื่องมือ พาเนล ไทมไลน์ และพื้นที่ของส่วนการใช้งาน 

ส่วนประกอบของโปรแกรม Macromedia Flash

 

 

      1.  เมนูบาร์ (Menu Bar)  เมนูบาร์เป็นแถบเครื่องมือที่รวบรวมคำสั่งในการใช้งานทั้งหมดเกี่ยวกับการสร้างชิ้นงาน สร้างมูฟวี่ นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการตั้งค่าเกี่ยวกับการใช้งานในโปรแกรมทั้งหมด 

      2.  ไทม์ไลน์หรือเส้นเวลา (Timeline)  ไทมไลน์ หรือ เส้นเวลา ใช้สำหรับกำหนดรายละเอียดของการเคลื่อนไหวของวัตถุ มาจัดวางต่อกันทีละภาพในแต่ละช่วงเวลา เรียกว่าเฟรม
(
Frame) ซึ่งจะแสดงเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยจะกำหนดเส้นเวลาให้เล่นภาพเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ หรือ เล่นแล้วหยุดก็ได้  สามารถซ่อน/แสดง  ได้ด้วยการคลิกเมนู  Window > Timeline

      3.  พาเนล (Panels)  หน้าต่างหรือชุดคำสั่งพิเศษที่ใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น พาเนล Color ใช้เลือกและผสมสี พาเนล Library ใช้จัดเก็บออบเจ็กต์ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งสามารถซ่อน/แสดง ได้ด้วยการคลิกที่ เมนู Window > Hide Panels

      4.  ทูลบ็อกซ์ (Toolbox) แถบเครื่องมือ กลุ่มเครื่องมือสร้างงานและจัดการวัตถุ  ประกอบด้วยปุ่ม เครื่องมือย่อยต่าง ๆ สามารถซ่อน / แสดง ได้ด้วยการคลิกเมนู Windows > Tool  โดยแบ่งเครื่องมือเป็นกลุ่ม ๆ ได้ดังนี้

          -  กลุ่มเครื่องมือเลือกวัตถุ (Selection)

          -  กลุ่มเครื่องมือวาดภาพและตกแต่งภาพ (Drawing)

          -  กลุ่มเครื่องมือควบคุมมุมมอง (Modify)

          -  กลุ่มเครื่องมือควบคุมสี (Color)

          -  กลุ่ม Option กลุ่มคำสั่งเพิ่มเติมจะแสดงแต่ละคำสั่งเมื่อเลือกใช้งานจากเครื่องมือข้างต้น

      5.  คุณสมบัติ (Property) เป็นพาเนลที่ใช้แสดงคุณสมบัติต่าง ๆ ของออบเจ็กต์ที่เราคลิกเลือกและแสดงคุณสมบัติของสเตจขณะที่เราทำงานอยู่  สามารถซ่อน/แสดงได้ด้วยการคลิกเมนู Windows > Properties > Properties
      6.  สเตจ (Stage)  พื้นที่การทำงานของชิ้นงาน ซึ่งสามารถตั้งค่าหรือปรับได้ที่ Properties โดยค่าของสเตจจะเริ่มต้นที่ 550x400 โดยก่อนเริ่มทำงานควรจะวางแผนในการกำหนดขนาดไว้ก่อน เพราะหากมาแก้ไขขนาดภายหลังจะทำให้ยุ่งยากในการปรับตำแหน่งของวัตถุต่าง ๆ เพราะเมื่อมีการนำเสนอผลงานจะแสดงเฉพาะวัตถุบนสเตจ เท่านั้น
      7.  พื้นที่ทำงาน (Work Area)  ใช้งานออบเจ็กต์ที่ยังไม่ต้องการให้แสดง ซึ่งเราอาจเปรียบสเตจได้เหมือนเป็นเวทีและพื้นที่ทำงานเป็นพื้นที่หลังเวที
 
 
เว็บไซต์นี้สามารถดูได้ที่ความละเอียด 1366 x 768 Pixel
ดูผู้แลเว็บไซต์ วัชรา ปานนาค  e-mail : watra25177@gmail.com