กลับหน้าหลัก
 บทเรียนที่ 7
 ใบความรู้ที่ 7.1
 การใช้งาน Scene
  - การใช้งาน Scene
  - การเพิ่ม Scene
  - การลบ Scene
  - การเปลี่ยนชื่อ Scene
  - การคัดลอก Scene
  - การสร้างชิ้นงานแบบ
   Motion Tween ใน Secent
 
ใบความรู้ที่ 7.2
 การทำหยดน้ำรูปหัวใจ
  - การกำหนดขนาดของ Stage
  - การนำชิ้นงานจาก Scence มานำเสนอสู่ Stage
 
 แบบฝึกหัดและใบงาน
  แบบฝึกหัดที่ 7.1
  ใบงานที่ 7.1
 
 แนวการตอบภาคปฏิบัติ
  แบบทดสอบ
  ใบงานที่ 7.1
 

ใบความรู้ที่ 7.1 การใช้งาน Scene และการทำงาน Scene มาใช้บน Stage

      ในการสร้าง Animation ต่าง ๆ จำเป็นต้องแบ่งเป็นตอน ๆ หรือ ฉาก ๆ เนื่องจาก Animation ของเรามีความยาวหรือซับซ้อนมาก ดังนั้น Flash จึงมีการใช้ Scene มาเป็นตัวเลือกหนึ่งในการดำเนินการ เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากในการเพิ่มเฟรมที่ยาวเกินสมควร

 

ซีน (Scene)

      คือ ฉากหรือตอนของมูฟวี่ เปรียบได้กับฉากหนึ่ง ๆ ในภาพยนตร์หรือละคร ซึ่งจะมีการเปลี่ยนสถานที่เกิดเหตุการณ์และตัวละครที่แตกต่างกันไป โดยแต่ละซีนจะมีไทม์ไลน์ของตัวเอง ประโยชน์ของการแบ่งซีนใน Flash ก็เพื่อช่วยลดความสับสนในกรณีที่มูฟวี่มีความยาวมาก ๆ ทำให้ง่ายต่อการสร้างจัดการ และแก้ไข ในมูฟวี่ที่มีหลายซีน Flash จะเล่นแต่ละซีนเรียงกันไปตามลำดับโดยอัตโนมัติ ยกเว้นจะมีการใช้คำสั่ง ActionScript ควบคุมให้เป็นอย่างอื่น โดยปกติเมื่อเปิดโปรแกรม Flash ขึ้นมา โปรแกรมจะทำการกำหนดให้ทำงานอยู่ใน Scene 1 อย่างอัตโนมัติ ดังรูป

 

 

หน้าต่างซีน (Scene Window)

       การเรียกใช้หน้าต่าง Scene มีประโยชน์มากสำหรับการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วย Scene โดยจะสามารถเพิ่ม Scene ใหม่ คัดลอก Scene เปลี่ยนชื่อ Scene หรือ ลบ Scene ได้อย่างรวดเร็ว วิธีการเปิดหน้าต่าง Scene ทำได้โดยใช้เมาส์คลิกที่เมนู Window > Other Panels > Scene หรือกดปุ่ม <Shift+F2> บนคีย์บอร์ด จะเกิดหน้าต่าง Scene ดังรูป

 
 
 
 
 
เว็บไซต์นี้สามารถดูได้ที่ความละเอียด 1366 x 768 Pixel
ดูผู้แลเว็บไซต์ วัชรา ปานนาค  e-mail : watra25177@gmail.com