การสร้างภาพเคลื่อนไหวใน Flash นั้นทำได้อยู่ 2 วิธีคือ
การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรมต่อเฟรม
(Keyframe) เป็นการระบุข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของทุกเฟรมด้วยตัวเองเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว
เช่น รูปแบบและรายละเอียดต่างๆ ของออบเจ็กต์บนสเตจ ได้แก่ ตำแหน่ง ขนาด โทนสี
การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยวิธีนี้ใช้เวลาค่อนข้างมาก
เพราะเราต้องมากำหนดองค์ประกอบของออบเจ็กต์ต่างๆ ทีละเฟรม
การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบทวีน
(In-between
frame) เป็นวิธีหลักในการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยโปรแกรม Flash ซึ่งต่างจากการสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบแรกตรงที่เราไม่ต้องมาทำการกำหนดข้อมูลทุกเฟรมด้วยตนเอง
เพียงแค่กำหนดบางเฟรมที่สำคัญเท่านั้น และให้โปรแกรม Flash คำนวณและสร้างเฟรมอื่นๆ
ให้เองโดยอัตโนมัติ ซึ่งวิธีนี้รวดเร็วกว่าวิธีแรกมาก ซึ่งแบ่งลักษณะการเคลื่อนไหวออกเป็น
2 ลักษณะด้วยกันคือ
1. เปลี่ยนแปลงตำแหน่ง (Motion Tween)
การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบนี้
เป็นการเคลื่อนที่ของเนื้อหาจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง หรือเปลี่ยนคุณสมบัติจากแบบหนึ่งไปเป็นอีกแบบหนึ่ง
เหมาะสำหรับการทำภาพเคลื่อนไหว แบบต่อเนื่องสม่ำเสมอ
เช่น เมฆลอย พัดลมกำลังหมุน ยานบิน รถกำลังแล่น เป็นต้น
2. เปลี่ยนแปลงรูปร่าง (Shape
Tween)
Shape
Tween คือการสร้างภาพเคลื่อนไหวให้วัตถุเปลี่ยนรูปร่างจากรูปหนึ่งเป็นอีก
รูปหนึ่ง เช่น จากรูปสี่เหลี่ยมเป็นรูปวงกลมหรือจากรูปภาพเป็นข้อความ เป็นต้น
|